点击蓝字 关注沪江泰语君!
在我们的印象当中,金碧辉煌的佛寺都是泰国佛教的象征,但在成千上万的寺庙中有这么一座比较特殊的,除了它的宗教作用之外,它还有着独特的政治作用,它纪念了发生在1932年6月24日泰国资产阶级革命,一度叫做“民主寺”,今天我们就来带大家认识一下这座独特的寺庙——วัดพระศรีมหาธาตุ Wat Phra Sri Mahathat Woramahawihan!
หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯ ในขณะนั้น) เสนอต่อที่ประชุมว่าจะขออนุมัติเงินสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งการปกครองในระบบประชาธิปไตย การสร้างวัดครั้งนี้รัฐบาลเห็นว่าควรให้เป็นงานกุศลของชาติ ที่ประชาชนและรัฐบาลร่วมกัน จึงติดประกาศเชิญชวนได้รับเงินบริจาค (ได้เงินบริจาค 336,535 บาท จากงบที่ประมาณไว้ 400,000 บาท) ส่วนที่ให้ชื่อว่า “วัดประชาธิปไตย” นั้นเนื่องจากทำเลที่ตั้งของวัด วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธินซึ่งเป็นถนนที่ตัดขึ้นใหม่ (เดิมชื่อถนนประชาธิปัตย์) บริเวณใกล้ๆกันนั้น เดิมมี “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช”
銮披汶(当时泰国总理)在会议上提出,希望能够批准资金建设一座纪念泰国民主体系的寺庙,政府认为建设这座寺庙应该是由人民和政府共同承担,所以发出了捐款的公告(预算约400,000泰铢,最终捐款336,535泰铢),之所以取名为民主寺,和寺庙所在的位置有关,因为寺庙位于新建的Phahonyothin路(以前叫民主路),在那附近曾经有一座宪法纪念碑,为了纪念当时发生的鲍沃拉德叛乱。
นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องการที่จะสร้างให้วัดประชาธิปไตยนี้ เป็นวัดตัวอย่างที่มีความสมบูรณ์ในการสร้างวัด เป็นมาตรฐานของสถาปัตยกรรมไทย และเป็นวัดที่รวมเอามหานิกายและธรรมยุตินิกายเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะสร้างให้วัดพระศรีมหาธาตุเป็นวัดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชาติไทยในสมัยประชาธิปไตย สิ่งที่ช่วยยืนยันอีกประการคือ การอัญเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” พระพุทธรูปสำคัญองค์ที่ 3 ของประเทศไทย ต่อจากพระแก้วมรกต และพระพุทธชินราชที่พิษณุโลกมาเป็นพระประธานของวัด
另外,泰国政府还旨在将这组寺庙建成一座齐全完备的泰国寺庙,要成为泰式建筑的标杆,汇集大宗派和法宗派于一体,将其建设为泰国民主时期最重要的寺庙之一,能够证明这一点的就是请来了仅次于泰国玉佛、彭世洛府Phra Phuttha Chinnarat佛像的泰国第三大佛像Phra Buddha Sihing作为寺庙的主佛。
วัดพระศรีมหาธาตุทำพิธีเปิดทางเป็นทางการ หรือถวายเป็นเสนาสนะ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นการกำหนดวันให้ตรงกับวันปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อ 10 ปีก่อน และพระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้มาเป็นบุคคลแรกที่ทำพิธีอุปสมบทในวัดพระศรีมหาธาตุแห่งนี้
这座寺庙在1942年6月24日举行了隆重的开寺仪式,10年前的这一天是泰国发生了民主政体革命的日子,披耶·帕凤裕庭也是第一位在这座寺庙出家的人。
ต่อมารัฐบาลได้ส่งคณะทูตพิเศษนำโดย นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อติดต่อขอพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดินสังเวชนียสถานทั้งสี่ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ 5 กิ่ง เพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดประชาธิปไตย จึงตกลงเปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น “วัดพระศรีมหาธาตุ”
后来,政府组织了由Luangthamthongnawasawat为首的使团出使印度,目的是求得佛祖舍利,佛祖降生、顿悟、讲经、涅槃四方的土,菩提树的五树枝,将这些圣物供奉在民主寺中,之后为民主寺更名为“Wat Phra Sri Mahathat”。
แต่วัดยังคงความหมายในการเป็นอนุสรณ์ของระบอบประชาธิปไตยและคณะราษฎรไป สัญลักษณ์สำคัญที่สุดที่สะท้อนความหมายของประชาธิปไตยและคณะราษฎรคือ พระธาตุเจดีย์ หน้าพระอุโบสถ
但寺庙仍然是民主政体和人民党的纪念,彰显这一纪念价值最有意义的就是佛殿前的佛塔。
การสร้างพระธาตุเจดีย์ไว้หน้าพระอุโบสถ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเป็นเจดีย์ ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นเจดีย์ใหญ่สูง 38 เมตร ชั้นในทำเป็นเจดีย์องค์เล็กตั้งอยู่ตรงกลาง (บรรจุพระธาตุที่อัญเชิญมา) มีพื้นที่ระหว่างผนังทั้ง 2 ชั้นราว 2 เมตรครึ่ง สำหรับให้เข้าไปนมัสการได้ แต่ลักษณะพิเศษแตกต่างจากพระธาตุเจดีย์ทั่วไปคือ ส่วนที่เป็นผนังด้านในของเจดีย์องค์ใหญ่ ได้ถูกออกแบบให้เป็นช่องจำนวน 112 ช่อง
在佛殿前建造佛塔是为了盛放从印度请来的佛舍利,这座佛塔共有两层,外层高约38米,内层是位于中间的小塔(盛放了请来的佛舍利),两层墙壁之间约有2米半的距离,可以进去跪拜,但是不同于其他地区佛塔的地方在于,大塔内部的墙壁上挖出了112个孔。
หลวงวิจิตรวาทการเสนอความเห็นว่า ควรทำใช้บรรจุอัฐิของคณะราษฎร หรือบุคคลอื่นที่ทำคุณงามความดีแก่ชาติบ้านเมือง โดยยกตัวอย่าง Pantheon ในประเทศฝรั่งเศสมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ และยกเหตุผลประกอบว่า
銮威集瓦他干表达了自己的观点,觉得应该用来盛放人民党或其他对民族国家有贡献人的骨灰,与法国的先贤祠进行了对比,理由如下:
“…เมื่อครั้งเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสร้างที่บรรจุอัฐิของผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เคยมีบัญชาให้กรมศิลปากรออกแบบเสนอมาแล้ว แต่ปรากฏว่าต้องใช้เงินราว 4 แสนบาท เรื่องจึงสงบไป…ข้าพเจ้าจึงมาคิดว่าถ้าใช้ช่องที่ทำไว้ในเจดีย์พระศรีมหาธาตุนี้เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ดูเป็นการสมควรและเป็นการสะดวก…”
“在披耶·帕凤裕庭担任总理的时候,他有非常强烈的愿望想要为政变中的英雄建立盛放骨灰的地方,也让文艺厅提出了设计想法,但是发现需要花费大约40万泰铢,所以就没有实施…我认为可以让寺庙佛塔中的孔来盛放在政变中有突出贡献人的骨灰,理应这么做,也非常方便…”
สุดท้ายคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับข้อเสนอว่า จะใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่ทำประโยชน์แก่ชาติ โดยมิได้กล่าวเจาะจงเฉพาะว่าเป็นอัฐิของคณะราษฎร
后来,内阁同意了上述观点,将用来盛放对国家有贡献的人的骨灰,但是并没有强调是人民党的。
อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติจริง ภายในช่องบรรจุอัฐิในพระเจดีย์ ก็ล้วนแต่บรรจุอัฐิของบุคคลที่เป็นคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองทั้งสิ้น อาทิ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พระยาพหลพลพยุหเสนา, ปรีดี พนมยงค์, พลโทประยูร ภมรมนตรี, นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย, นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ฯลฯ และในหลายช่องก็ได้ใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของภรรยาคณะผู้ก่อการฯ ด้วย เช่น ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เป็นต้น
但是实际情况是,佛塔里盛放的骨灰也都是在政变中发挥重要作用的人民党的成员,比如銮披汶、披耶·帕凤裕庭、比里·帕侬荣、Prayoon Pamornmontri、Luangsutphachlasai、Luangthamthongnawasawat等等,好几个孔盛放了人民党成员的妻子,比如銮披汶的妻子。
และด้วย “พระพรหมพิจิตร” เป็นนายช่างผู้ออกแบบ ที่มีลักษณะงานของท่านมีลักษณะเรียบง่าย เน้นประโยชน์ใช้สอย ฯลฯ ดังนั้น แม้จะทางสถาปัตยกรรมจะได้รับอิทธิพลจากพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร แต่ในรายละเอียดนั้นจะพบว่า พระพรหมพิจิตรได้สร้างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไทยแบบใหม่ขึ้น โดยพยายามที่จะลดทอนรายละเอียดของลวดลายไทยลงสู่ความเรียบง่ายของรูปทรงเรขาคณิต รูปแบบศิลปะที่เรียบง่ายเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้สื่อสารในความหมายของงานสถาปัตยกรรมในระบอบประชาธิปไตย
因为Praprom Pichit是设计师,所以这里的也延续了他简约实用的风格,虽然建筑风格受到了云石寺的影响,但是从细节能够看出来因为Praprom Pichit创造了新式泰式建筑的风格,减少了在纹路上复杂的细节,强调几何图案的简约,这样简约的艺术形式被用在了讲述泰国民主政体的建筑上。
โดยเฉพาะหน้าบัน ที่ในแบบจารีตนิยมจะทำเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตราพระราชลัญจกรต่างๆ หรือเทพเทวดาชั้นสูงอื่นๆ แต่ที่หน้าบันด้านหน้าของวัดพระศรีมหาธาตุ กลับทำเป็นรูป “อรุณเทพบุตร” ตามตำนาน มีหน้าที่เป็นสารถีขับรถให้กับพระอาทิตย์ หมายถึง “แสงตะวันเมื่อแรกขึ้น” เท่าที่ผ่านมาไม่พบว่าเทพองค์นี้เคยถูกนำมาใช้เป็นลายหน้าบันหลักของอาคารใดเลย
尤其是龛楣,传统派一般会根据传说建成骑着金翅鸟的毗湿奴、骑着神象的因陀罗或其他的神仙,但是这所寺庙的龛楣反而建成了传说中的Aruna,其职责是为太阳神驾车,寓意是“初升太阳的光芒”,从来没有在任何寺庙的龛楣出现过这尊神。
ถ้าลองวิเคราะห์ความหมายของอรุณเทพบุตรที่หมายถึง “แสงตะวันเมื่อแรกขึ้น” นั้นมีความหมายที่ดีและเข้ากันได้ ที่จะใช้สื่อถึงการถือกำเนิดขึ้นของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ที่เพิ่งเริ่มลงหลักปักฐาน
如果分析Aruna“初升太阳的光芒”的含义就会发现寓意很好,并且非常符合,意味着泰国的民主政体刚刚出现,正在散发着初升的光芒。
点个在看你最好看